สำหรับท่านที่ชอบทดลองการลง OS เวอร์ชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น MS-DOS, Windows 3.1, 95, 98, ME, 2000, XP, 2003, Linux, Netware, Solaris และอีกมากมายก่ายกอง
วันนี้ผมจะมาแนะนำโปรแกรมที่จะมาช่วยคุณๆท่านๆให้ทำงานได้สะดวกขึ้น ไม่ต้อง Format เพื่อจะลง OS ตัวใหม่ ไม่ต้องแบ่ง Parttion ให้ยุ่งยาก ไม่ต้องสร้าง Multiboot เราจะรวมทุกอย่างไว้ที่นี่ที่เดียว มารู้จักกับ Vmware Workstation กันเถอะ
ที่ผมนำมาให้ดูในที่นี่เป็น version 5.0
โหลดได้จากที่นี่ครับ http://www.vmware.com/
มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
เริ่มติดตั้งโปรแกรมกันก่อนดีกว่าครับ ดูรูปประกอบได้เลยครับ
ทำตามรูปได้เลยนะครับ ผมอธิบายไม่ค่อยจะเก่ง ปกติเป็นคนพูดน้อย ถึง น้อยมาก
ติดตั้งไม่ยากครับ เหมือนโปรแกรมทั่วๆไปนั่นแหล่ะครับ
ขั้นตอนติดตั้งก็เสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราจะจะมาเริ่มใช้งานกัน
เปิดโปรแกรมมาครั้งแรกเราก็จะเจอกับหน้าตาแบบนี้ครับ
เห็นหน้าตากันแล้วนะครับ
ต่อไปเราจะมาเริ่มติดตั้ง OS กันครับ ในตัวอย่างนี้ผมลง windows 2000 server ครับ
ให้คลิกที่ New Virtual Machine หรือ ไปที่ File แล้ว New แล้วเลือก Virtual Machine ครับ
ทำขั้นตอนตามรูปได้เลยครับ
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่ามีระบบปฏิบัติการให้เราเลือกเยอะแยะเลย แบ่งเป็นประเภทไว้ให้เสร็จเรียบร้อย
ให้เราเลือกให้ตรงกับ OS ที่เราต้องการจะติดตั้งลงไป เมื่อเลือกแล้วไปขั้นตอนต่อไปกันเลย
จะให้เราเลือกว่าจะเก็บ ระบบปฏิบัติที่เราติดตั้งไว้ที่ใด
จะให้เราเลือกใช้รูปแบบของ Network ให้ใช้ค่า default ได้เลย คือเลือกอันแรก Use bridged networking
จะให้กำหนดว่าจะให้ OS ของเรามีพื้นที่ฮาร์ดดิส ขนาดเท่าไหร่ ค่า default จะอยู่ที่ 4.0 GB แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
เมื่อกำหนดค่าต่างๆของระบบเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะติดตั้ง OS เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้หน้าตาแบบนี้
OS ที่ติดตั้งลงไป เปรียบได้เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเลยครับ
ต่อไปก็มาตั้งค่ากันนิดหน่อย เราสามารถปรับตั้งค่าว่าจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราใช้แรมสักเท่าไหร่ดี ดูรูปประกอบครับ
อ้อ ลืมบอกไปว่า สำหรับท่านที่จะใช้โปรแกรมตัวนี้ต้องมีแรมเยอะๆหน่อยครับ แรมยิ่งเยอะยิ่งดี สามารถรัน OS ได้พร้อมๆกันหลายๆตัว (ของผม 1 GB เปิดพร้อมกันได้ 3 - 4 OS)
รูปนี้จะให้ดูการปรับความจุของแรม
ต่อไปก็เป็นการปรับเกี่ยวกับ CD-ROM
ในที่นี้ ถ้าเราติดตั้ง OS โดยติดตั้งจากแผ่นก็ให้ใช้ค่า default ได้เลย โดยจะอยู่ที่ Auto detect ตามรูป
แต่ถ้าใครมีเก็บเป็นไฟล์ .iso ไว้ ก็สามารถติดตั้งจากไฟล์ได้เช่นกันครับ โดยเลือกไปที่ Use ISO image แล้วก็เลือกไฟล์ที่ท่านเก็บไว้ ตามรูปครับ
เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็เริ่มสตาร์ทเครื่องกันเลยครับ คลิกที่ปุ่ม Power on (ปุ่มสีเขียว) หรือ Start this virtual machine ไปกันเลยครับ
เหมือนกันกับเวลาที่เราเปิดเครื่องคอมทั่วๆไปครับ แต่ในที่นี้จะเป็นโลโก้ของ Vmware แทน การปรับค่าใน Bios ก็ให้กด F2 ครับ
นี่เป็นภาพบางตอนของการติดตั้ง OS ในที่นี้ผมติดตั้ง Windows 2000 server
ขอข้ามขั้นตอนไปบ้างนะครับ สำหรับการติดตั้ง OS เพราะทุกคนทำเป็นกันอยู่แล้ว
ครั้งแรกที่เราติดตั้ง OS เสร็จ หน้าตา windows จะดูไม่สวยงาม สีจะแตก นั่นเพราะว่ายังไม่ได้ลง Driver เหมือนในรูปครับ
ส่วนรูปด้านล่างจะเป็นรูปที่เราได้ติดตั้ง Vmware tools ลงไปเรียบร้อยแล้วครับ
คราวนี้มาดูขั้นตอนการติดตั้ง Vmware tools กันครับ ง่ายๆ
ในหน้าต่างโปรแกรม Vmware workstation ให้รัน OS ที่ต้องการขึ้นมาก่อน เสร็จแล้วไปที่ VM บนเมนูบาร์ ของโปรแกรม Vmware
ให้เลือกไปที่ Install Vmware Tools (ดังรูป) แล้วก็ทำตามขั้นตอนไปจนเสร็จ
ลองเอาไปใช้งานกันดูนะครับ มีข้อสงสัยตรงไหนก็ PM หรือเมล์มาได้เลยครับ
baowxp@hotmail.com
อ้อ!!! ลืมอีกแล้ว สังเกตเห็นได้ว่า ก่อนติดตั้ง Vmware tools เวลาที่เราคลิกเมาส์ลงไปใน Vmware แล้ว ไม่สามารถเอาเมาส์มาที่ windows ปกติได้
ให้กด Ctrl+Alt ครับ สังเกตว่าเขาจะมีบอกไว้ที่มุมด้านล่าง-ซ้ายของโปรแกรมแล้วครับ แต่ถ้าลง Vmware tools แล้วก็สามารถลากเมาส์ผ่านมายัง windows ปกติได้เลยโดยอัตโนมัติ แต่ในหน้า Bios หรือ ตอนติดตั้ง OS หรือก่อนติดตั้ง vmware tools ก็ยังจำเป็นจะต้องใช้ Ctrl+Alt ครับ ขออภัยลืมบอกไว้ตอนต้น
ขอให้สนุกนะครับ สำหรับผมแล้ว โปรแกรมนี้ช่วยผมได้เยอะมาก เราจะปู้ยี่ปู้ยำกับ OS ที่อยู่ในนั้นยังไงก็ได้ ผิดพลาดก็ลบทิ้งแล้วลงใหม่ได้เรื่อยๆ รูปสุดท้ายนี้เป็น OS ต่างๆที่ผมลงไว้ครับ
21/2/52
Vmware Workstation
09:28
No comments
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น