23/7/57

DD-WRT firmware บน D-Link DIR-600 Wireless N 150

 DD-WRT ซึ่งเป็น Linux-based firmware ของอุปกรณ์ประเภท Wireless Access Point หรือ Router เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และมีคุณสมบัติอื่นๆ ให้มากกว่า firmware ที่ติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์








สำหรับ D-Link DIR-600 ไฟล์ firmware ที่ต้องใช้ในการติดตั้งมีสองไฟล์คือ
1. dd-wrt.v24_mini_wrt54g.bin
2. dd-wrt.v24_std_generic.bin
สามารถ Download เวอร์ชั่นใหม่ได้จาก http://www.dd-wrt.com/site/support/router-database
ดูขั้นตอนการติดตั้งได้จาก http://www.bunyiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1486

ในกรณีนี้จะแนะนำ ความสามารถของ DD-WRT firmware ให้รู้จัก จากกรณีศึกษา การเซ็ตค่าของอุปกรณ์ Linksys Wireless-G Broadband Router รุ่น WRT54GL v1.1
ที่ให้บริการชั่วคราว ในงานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 39 สงขลานครินทร์เกมส์
โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่เป็นเพียง Access Point เท่านั้น เป็นแค่ทางผ่าน กระจายสัญญาณเท่านั้น ไม่ได้แจก IP ด้วยตนเอง แต่จะให้ Router เป็นผู้แจกเอง
แถบเมนู Setup -> Basic Setup ได้ทำการเซ็ตค่าดังนี้
1. ปิดการใช้งานผ่าน Port WAN
2. Router Name จะเป็นชื่อของอุปกรณ์ ไม่ใช่ชื่อของสัญญาณ Wireless ที่ให้เชื่อมต่อน่ะครับ
3. Network Setup ก็ได้เซ็ต IP ตามที่เราได้วางระบบและต้องการ ครับ


แถบเมนู Wireless -> Basic Setting
1. Wireless Mode ตั้งค่าให้ทำงานในโหมด Access Point
2. Wireless Network Mode จะให้เป็น G-Only เพราะว่า หากมีอุปกรณ์ที่ทำงานในโหมด B เชื่อมต่อเข้ามา จะทำให้ Access Point ทำงานในโหมด B ไปด้วย
นั้นหมายความว่า อุปกรณ์ทุกอย่างที่เชื่อมต่อกับ Access Point เครื่องนั้นใช้งานอินเตอร์เน็ตช้าตามไปด้วย จึงได้ป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว ให้อนุญาตใช้อุปกรณ์ ที่รองรับโหมด G เท่านั้น ใช้งานได้
3. SSID เป็นชื่อของสัญญาณ Wireless ที่มองเห็นเมื่อผ้ใช้บริการจะเชื่อมต่อกับสัญญาณ
4. Wireless Chanel จะดูจากจุดที่จะให้บริการ บริเวณดังกล่าวมีสัญญาณ Wireless ช่องใดอยู่บ้าง จึงจะทำการตั้งค่าไม่ให้ซ้ำกัน


แถบเมนู Wireless -> Advanced Settings
จะใช้การตั้งค่าให้ TX Power ให้เป็นค่าสูงสุดที่ 251 ซึ่งเป็นค่ากำลังสงสูงสุด


แถบเมนู Wireless -> WDS
ในกรณีที่เราต้องการทำ WDS
WDS มาจากคำว่า Wireless Distribution System คือ ระบบกระจายสัญญาณไร้สาย โดย WDS Bridge จะทำงานแบบ Point to Point โดยจะมีข้อแตกต่างจาก Client Bridge คือมันจะทำการส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยัง Interface Wireless ด้วย ซึ่งจะจำเป็นสำหรับการนำไปทำ Wi-Fi Hotspot เพราะผู้ให้บริการ จำเป็นต้องทราบ MAC Address ของเครื่องลูกค้าทุกคน
ทำให้ ไม่ลำบากในการติดตั้งสาย LAN จะใช้สาย LAN เฉพาะเครื่องหลักเท่านั้น แต่มีข้อเสียในด้านความเร็วอินเตอร์เน็ตในการให้บริการ จะถูกหารสอง เนื่องจาก Access Point ต้องคุยกับ Acce


แถบเมนู Serveces -> Hotspot
ในกรณีที่ต้องการทำ Hotspot เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ Hotspot


แถบเมนู Administration -> Firmware Upgrade
ในกรณีที่เราต้องการ Upgrade Firmware ใดๆ จาก DD-WRT Firmware ไปเป็นอย่างอื่น สามารถเข้าใช้ได้ผ่านหน้านี้


แถบเมนู Administration -> Backup
หากเราต้องการ Backup ข้อมูลในการตั้งค่าเราสามารถใช้ได้โดนผ่านหน้านี้ ในการ Backup ไฟล์ที่ได้จะสามารถนำไปใช้ใน อุปกรณ์เครื่องเดิมได้ และสามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ รุ่นเดียวกันแต่เครื่องอื่นได้อีกด้วย
หากเราทำการ เซ็ตค่าของอุปกรณ์หลายๆเครื่อง โดยที่การตั้งค่านั้นเหมือนรือใกล้เคียงกัน ก็ให้วิธีการ Backup แล้วนำไฟล์จากการ Backup ไป Restore ในหน้า Administration -> Backup


แถบเมนู Status -> Router
จะแสดงรายละเอียดของเร้าเตอร์ ทั้งข้อมูลพื้นฐานของอุปกรณ์ การทำงานของ CPU และ Memory


แถบเมนู Status -> Wireless
จะแสดงของมูลสถานะของการให้บริการสัญญาณ Wireless แสดงข้อมูลของผู้ที่เข้ามาเชื่อมต่อ ในกรณีนี้ ได้นำถาพมาให้ชมตอนที่ไม่มีผู้เข้ามาใช้บริการ
หากมีผู้เชื่อมต่ออยู่ จะแสดงข้อมูล MAC Address คุณภาพสัญญาณ แต่จะไม่บอก IP ของอุปกรณ์ที่เขามาเชื่อมต่อ


แถบเมนู Status -> Bandwidth
จะแสดงกราฟแบนวิต ของการใช้งาน Wireless ณ ปัจจุบันเท่านั้น ไม่สามารถดูย้อนหลังได้


ในกรณีที่เราต้องการดูข้อมูลพื้นฐานของอุปกรณ์ และการเชื่อมต่อ สามารถเข้าดูได้เลยผ่าน IP ที่เราตั้งค่าให้ Access Point เครื่องนั้นๆไว้








ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/487582

0 ความคิดเห็น: