21/2/52

การติดตั้ง AppServ

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมให้กับเครื่องของคุณก่อน เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดไฟล์ AppServ และ phpNuke มาเตรียมเอาไว้

ขั้นต้นเลยนะครับ ให้คุณไปที่ AppServ Network เพื่อดาวน์โหลด AppServ (แนะนำ 2.4.3) จะเสถียรที่สุดในขณะนี้ (ขนาดประมาณ 11.8MB)



แล้วก็โหลดมาซะเลยครับท่าน



และเข้าไปที่ ThaiNuke เพื่อดาวน์โหลด phpNuke Thai Edition ซึ่งขณะนี้ล่าสุดอยู่ที่ เวอร์ชั่น 7.7
(แต่ผมแนะนำ 7.4 จะเสถียรที่สุดประกอบกับมีโมดูล , แอดออน และบล็อคต่างๆ สนับสนุนมากที่สุดในขณะนี้ครับ)

ป.ล.ผมใช้ phpNuke 7.4 Thai Edition ประกอบบทความนี้ครับ



ต่อกันเลย



เลื่อนลงมาด้านล่างซักนิดจะพบครับ



หรือถ้าขี้เกียจเข้าไปเว็บ (แต่อยากให้เข้านะครับ คำถามคำตอบที่นั่นมีครบทุกอย่างอยู่แล้ว) ไปโหลดที่นี่

http://prdownloads.sourceforge.net/thaiphpnuke/PHP-Nuke-7.4-Thai.zip?download

จบขั้นตอนเรื่องการดาวน์โหลดไฟล์


ขั้นตอนที่ 2 การติดตั้ง AppServ เพื่อจำลองเครื่องเป็นเว็บเซิฟเวอร

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยก็ได้ไฟล์ดังรูป จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิกเพื่อติดตั้งได้เลยครับ
(หากท่านมี IIS อยู่แล้ว จะต้องทำอีกขั้นตอนหนึ่งก่อน แต่ในขั้นนี้ขอข้ามไปก่อนนะครับ)



หลังจากดับเบิ้ลคลิกแล้วก็จะเกิดหน้าต่างต่อไปเรื่อยๆ ให้คลิก Next ไปเรื่อยๆครับ





ตรงส่วนของ Desination Directory ถ้าท่านใดอยากเปลี่ยนก็เชิญนะครับ (ผมขอตั้งเป็น Default)



ส่วนตรงข้างล่างนี้ก็เป็นตัวเลือกในการติดตั้งครับ (สำหรับ Advanced User ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายนะ)



ตรงนี้ใส่เป็น Default ไปเถอะครับ ทำในเครื่องตัวเองไม่ได้กะโชว์ใคร ไม่ต้องตั้งไรมาก



พอมาถึงหน้าจอนี้ โปรดสังเกตรูปภาพดีๆ นะครับ ดูในส่วนของ Charset ให้เลือกเป็น TIS-620 ซึ่งเป็นการ Encoding ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้มีปัญหากับภาษาไทยครับ



จากนั้นกด Next แล้วเครื่องจะทำการติดตั้งไฟล์และการตั้งค่าต่างๆ ลงในเครื่องของเรา(ประมาณ 2-3 นาทีเสร็จครับ)



เมื่อเสร็จแล้วจะขึ้นหน้าจอสุดท้าย ให้คุณติ๊กถูกหน้าช่อง Start Apache และ Start MySQL แล้วกด Close ได้เลยครับ



ก็เป็นว่าเสร็จสิ้นการติดตั้ง AppServ ให้กับเครื่องของคุณเพื่อจำลองเครื่องตนเองเป็นเว็บเซิฟเวอร์แล้วนะครับ


หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คุณลองเรียก http://localhost/ ที่เว็บบราวเซอร์ดูนะครับ หากขึ้นตามภาพนี้แสดงว่าคุณติดตั้ง AppServ ได้สำเร็จแล้ว ยินดีด้วยครับ



รายละเอียดตามภาพแนะนำให้คุณคลิกเข้าไปอ่านเอาเองละกันนะครับ ตรงนี้ไม่ขอกล่าว

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งดังกล่าวแล้ว แสดงว่าคุณได้จำลองเครื่องตนเองเป็นเว็บเซิฟเวอร์ได้สำเร็จแล้วนะ ขั้นตอนต่อไป ก็คือการติดตั้ง phpNuke ล่ะครับ
ขั้นตอนที่ 3 การติดตั้ง phpNuke

เมื่อคุณดาวน์โหลด phpNuke มาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปที่คุณต้องทำคือการแตกไฟล์ phpNuke ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Zip ออกมาเป็นไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ครับ

ซึ่งเมื่อแตกไฟล์ออกมาแล้วคุณจะได้โฟลเดอร์ต่างๆ ดังนี้นะครับ



ซึ่งโฟลเดอร์ที่คุณเห็นนั้นจะมี 3 โฟลเดอร์คือ html ,sql , upgrade ซึ่งผมจะขออธิบายโดยย่อดังนี้นะครับ 1. โฟลเดอร์ html : ไฟล์ที่บรรจุอยู่ในโฟลเดอร์นี้คือไฟล์ที่เป็นตัว phpNuke ครับ
2. โฟลเดอร์ sql : ไฟล์ที่บรรจุอยู่ในโฟลเดอร์นี้คือไฟล์ .sql ที่ใช้ในการติดตั้งฐานข้อมูลให้กับ phpNuke (phpNuke Thai Edition เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้จะมี nukesql.php มาให้ด้วย ซึ่งทำให้คุณติดตั้งง่ายขึ้น แต่จะขอไม่อธิบายจนกว่าจะมีท่านใดมาถาม แหะๆ)
3. โฟลเดอร์ upgrade : สำหรับโฟลเดอร์นี้เก็บไฟล์ที่จำเป็นต่อการอัปเกรดจาก ผู้ใช้ phpNuke เวอร์ชั่นเก่า และคู่มือการอัปเกรดครับ (ไม่ขออธิบายอีกเช่นกันจนกว่าจะมีสมาชิกมาถาม)

ขั้นตอนต่อไป คือให้คุณก๊อปปี้ไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ ภายใน โฟลเดอร์ html เอาไปไว้ที่ C:\AppServ\WWW\html นะครับ (ตรง subfolder ย่อยชื่อ html ก็แล้วแต่ท่านล่ะครับว่าจะเปลี่ยนเป็นชื่อไหน หรือจะไม่มีเลยก็ได้ แต่ถ้าทำตามตัวอย่าง เวลาเรียกเว็บไซต์จะต้องเรียกใช้งานโดยเรียก http://localhost/nuke นะครับ แต่ถ้าไม่มี subfolder ก็เป็น http://localhost เฉยๆ

หมายเหตุ ที่ต้องเป็น c:\appserv\www เพราะว่า เวลาคุณลง AppServ เนี่ยตามค่า Default มันจะกำหนดให้ตั้งค่า Apache คือไฟล์ httpd.conf คอนฟิกค่าโฟลเดอร์นี้ เป็น Documentroot หรือ webroot นั่นเองครับ (การแก้ไขไฟล์ httpd.conf เพื่อคอนฟิกค่าของ Apache ให้คุณศึกษาเพิ่มเติมเอาเองนะครับ)



หลังจากที่คุณได้ก๊อปปี้ไฟล์ ของ phpNuke เข้าไปยัง Documentroot , Webroot เรียบร้อยแล้วครับ

ต่อไปก็เป็นขั้นตอนการนำเอาฐานข้อมูลสำหรับ phpNuke มาติดตั้งเพื่อให้สามารถทำงานได้นะครับ เริ่มต่อเลยครับ


ขั้นตอนที่ 4 เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับภาษาไทยให้ phpMyAdmin

สำหรับขั้นตอนนี้นั้นมีความสำคัญมากสำหรับ phpNuke นะครับ เพราะว่ามือใหม่ส่วนใหญ่น่ะ มักจะไม่ค่อยได้สนใจในส่วนนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการ encoding ด้วย

เพราะ phpNuke Thai Edition จะอ่านค่าการถอดรหัสภาษาไทยด้วยรหัส tis-620 ซึ่งเป็นการ Encoding ที่ถูกต้อง (ภาษาไทยแบบ windows-874 และ utf-8 ไม่ใช่มาตรฐานที่ถูกต้องที่ มอก.กำหนดนะครับ) ดังนั้นเราต้องแก้ไขค่าการถอดรหัสก่อนด้วย

เริ่มต้นด้วยการเรียก phpMyAdmin (http://localhost/phpmyadmin/index.php) ขึ้นมาจากหน้าจอเว็บบราวเซอร์เราตามรูปครับ




ขั้นตอนที่ 5 การสร้างฐานข้อมูล

หลังจากเซ็ตค่าภาษาไทยแล้วคุณก็ต้องสร้างฐานข้อมูลสำหรับ phpNuke โดยใช้ phpMyAdmin เป็นตัวช่วยในการสร้างฐานข้อมูล

ในที่นี้เพื่อความสะดวกในการเซ็ตค่าต่างๆนั้นเราจะให้เป็นฐานข้อมูลชื่อว่า nuke นะครับ (หรือชื่ออื่นตามแต่ใจท่านนะครับ)

ขั้นแรก เห็นหัวข้อ สร้างฐานข้อมูลใหม่ มั้ยครับ กรอกชื่อฐานข้อมูลไปเลย (nuke) แล้วกด **สร้าง** ได้เลยนะครับ ดูรูปประกอบ



เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะได้ฐานข้อมูลของเราชื่อว่า nuke ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเปล่าๆ ยังไม่มีตารางข้อมูลใดๆ อยู่เลย ซึ่งจะใช้ในขั้นตอนต่อไป




ขั้นตอนที่ 6 การ import ตารางข้อมูลให้กับ phpNuke

ยังจำได้ไหมว่าตอนเราแตกไฟล์ phpNuke ที่ดาวน์โหลดมาครั้งแรกจะมีอยู่ 3 โฟลเดอร์คือ html , sql ,upgrade นะครับ

ให้คุณเข้าไปในโฟลเดอร์ sql จะเห็น Text File ที่เป็นนามสกุล .sql อยู่นะครับ ชื่อว่า nuke.sql ไฟล์นี้แหละครับจะเป็นไฟล์ที่บรรจุตารางข้อมูลให้กับเราทั้งหมดสำหรับการติด ตั้ง phpNuke ในครั้งนี้นะครับ

ต่อไปจะเริ่มขั้นตอนการ import จริงๆล่ะ

เมื่อเราได้ฐานข้อมูลเปล่าๆ มาแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการนำตารางข้อมูลสำหรับ phpNuke เข้ามาให้กับฐานข้อมูลนี้ เพื่อนำไปใช้กับ phpNuke นะครับ

ต่อจากหน้าที่แล้ว หลังจากที่เราอยู่กับฐานข้อมูล nuke ให้คุณคลิกเข้าไปที่เมนู "sql" ตามรูปเลยนะครับ



แล้วจะได้หน้าจอดังนี้ คือคุณจะเห็นเมนูต่างๆ เพิ่มขึ้นมาอีก จะสังเกตเห็นว่ามีเมนูชื่อว่า "เลือกไฟล์ข้อความจาก" ดูตามรูปนะครับ ตรงนั้นแหละ ให้คุณนำเอาไฟล์ sql มาใส่โดยการกด Browse เลยครับ แล้วเข้าไปที่ โฟลเดอร์ที่คุณเก็บไฟล์ .sql ข้างต้นที่ผมกล่าวถึงแล้วเอาไว้





จะได้ตามรูปดังต่อไปนี้ ส่วนค่าอื่นๆ ให้เป็น default ไปเลยก็ได้ครับ (การเซ็ตค่าจะมีระดับ Advanced อีก) แล้วกด "ลงมือ" ได้เลยครับ



จากนั้นรอซักครู่ข้อมูลจะถึง Import เข้าไปยังฐานข้อมูลครับ



เมื่อเสร็จแล้วก็จะแสดงข้อความว่าได้แทรกข้อมูลจากไฟล์ดังกล่าวเรียบร้อย แล้ว(xxx วิธีใช้) โดย xxx คือตัวเลขจำนวนข้อมูลนะครับ (จากตัวอย่างอาจแตกต่างจากทุกท่านนะครับ เนื่องจากผมขี้เกียจลงใหม่ จะใช้ของเดิมที่ผมทำเอาไว้แล้วเลยนะครับ)



ให้ลองคลิกเข้าไปดูที่ฐานข้อมูลของคุณได้เลยว่ามีตารางอะไรถูก import เข้ามาแล้วบ้างนะครับ หากเป็นแบบผมเป็นอันว่าเสร็จสิ้นการ import ฐานข้อมูลแล้ว โดยการคลิกเข้าไปที่เมนู "โครงสร้าง" ได้เลยครับ



ซึ่งหากสำเร็จจะได้ดังภาพนี้ ซึ่ง phpmyadmin จะแสดงจำนวนข้อมูลและรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูล nuke ของคุณครับ



ซึ่งตรงรายละเอียดการปรับแต่งอื่นนั้น ยังไม่ต้องสนใจครับ ให้ข้ามไปก่อนเลย (Advanced อีกแล้ว)

เป็นอันว่าคุณทำสำเร็จสำหรับการติดตั้งฐานข้อมูลแล้วนะครับ แล้วก็เตรียมตัวไปต่อกันที่ขั้นตอนต่อไปเลย


ขั้นตอนสุดท้าย การแก้ไข config.php เพื่อให้ตรงกับค่าการใช้งานของคุณ

ให้คุณเข้าไปที่โฟลเดอร์ html ใน C:\AppServ\WWW นะครับ แล้วเปิดไฟล์ config.php ขึ้นมาแก้ไขด้วย TextEditor ใดๆ ก็ได้ครับ (ผมใช้ EditPlus)



ซึ่งถ้าคุณทำตามขั้นตอนที่ผมกล่าวมาข้างต้นแล้ว ตรงไฟล์ config.php นี้จะไม่จำเป็นต้องแก้ไขเลยครับ แต่ถ้าหากคุณกำหนดชื่อฐานข้อมูล หรือ username, password สำหรับการเข้าถึงฐานข้อมูล mysql เป็นของตนเองแล้วหรือเวลาอัปโหลด phpNuke ขึ้นไปบนโฮสท์คุณก็ต้องแก้ไขเป็นของคุณเองที่ตัวแปรต่างๆ เอาครับ



ส่วนการแก้ไขค่าต่างๆ นั้นก็อ่านเพิ่มเติมเอาจากในไฟล์ config.php ได้เลยครับ



จากนั้นแล้ว คุณก็สามารถเรียกใช้ http://localhost/html/ เพื่อเรียกใช้งาน phpNuke ของคุณได้เลยครับ

หากได้รูปดังนี้ก็แปลว่าคุณติดตั้งได้อย่างถูกต้องแล้วนะครับ ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของคุณด้วยครับ



ขอให้มีความสุขกับการใช้งาน phpNuke เพื่อการสร้างเว็บไซต์นะครับ ส่วนการใช้งานเพิ่มเติมจากนี้ แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บ ThaiNuke เอานะครับ

และที่สำคัญคือ หากเกิดปัญหาประการใดแล้ว อย่าตกใจ ให้เอา Error Message ที่ได้ดังกล่าวไปค้นหาในกระดานข่าวของ ไทยนุ้กด้วยนะครับ จะได้มะต้องโดนดุจาก Mod เหอๆ เพราะ Error ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยมือใหม่นั้น จะมีผู้นำมาถามและนำมาตอบเอาไว้อยู่แล้วนะครับ

และที่สำคัญเมื่อใช้งานได้แล้ว กรุณาอย่าเอา เครดิต ออกเด็ดขาด เพื่อมารยาทครับท่าน

และท่านใดสนใจติดต่ออบรม phpNuke โดยละเอียดและระดับขั้นสูงต่อไป สามารถติดต่อได้ตามที่นี่ครับ anopong_ping@hotmail.com

0 ความคิดเห็น: