imlovephoto

บริการถ่ายภาพแต่งงาน Pre-Wedding ถ่ายภาพนอกสถานที่ ถ่ายภาพในสตูดิโอ สามารถเลือกสถานที่ได้ ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล และถ่ายวีดีโอภายในงาน รับถ่ายรูปรับปริญญา รูปงานสำคัญต่างๆ ถ่ายภาพเดี่ยว ครอบครัว แฟชั่น

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

สวัสดีครับ ยินดีรับใช้ เนื้อหา สารน่ารู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยี

imlovezaa
รายละเอียด
บริการถ่ายภาพแต่งงาน Pre-Wedding ถ่ายภาพนอกสถานที่ ถ่ายภาพในสตูดิโอ สามารถเลือกสถานที่ได้ ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล และถ่ายวีดีโอภายในงาน
รับถ่ายรูปรับปริญญา รูปงานสำคัญต่างๆ ถ่ายภาพเดี่ยว ครอบครัว แฟชั่น

30/9/52

ทำภาพ panorama

การถ่ายภาพบางทีก็อึดอัด อุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวย หรือไม่โดนใจ การถ่ายภาพแบบ panorama สมัยก่อนจะต้องถ่ายด้วยกล้องเฉพาะของมันเอง แต่ในเมื่อเป็นดิจิตอลครองโลก ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ๆ และขั้นตอนง่ายมาก ๆ สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมที่แถมมากับกล้อง (ลองหาดูสิครับ มันน่าจะแถมมาด้วย) หรือ อย่างใน Photoshop เอง ยิ่งเวอร์ชั่นใหม่ ๆ อย่าง CS3 มันฉลาดขี้น วิธีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

เทคนิคที่ผม ใช้ในการถ่ายภาพเพื่อจะนำมาต่อเป็น panorama ผมมักจะใช้ช่วงกลาง หรือประมาณ 50 mm. เมื่อเทียบกับการถ่ายช่วงไวด์ การต่อภาพในช่วงไวด์จะไม่เนียน เนื่องจากความโค้งของภาพ ในการถ่ายสามารถถ่ายได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน (ผมชอบแนวตั้งมากกว่า) พยายามถ่ายให้ถี่ ไม่ทิ้งระยะห่าง ให้มีพื้นที่ซ้ำกันมากหน่อย และถ่ายในค่าแสงเดียวกันทั้งภาพ และมาปรับในคอมให้สีตรงกัน หรือใกล้เคียงกัน ทั้งภาพ

พอได้ภาพมาก็เปิด photoshop ไปที่ file เลือก Automate ไปที่ Photomerge

จากนั้นก็เลือก Browse เพื่อเลือกภาพ

เลือกภาพที่จะนำมาต่อกัน ถ้าถ่าย3 ภาพก็เลือก 3 ภาพ โดยการกด Ctrl ค้างไว้แล้วคลิกภาพ

จากนั้น โปรแกรมจะจัดการต่อภาพให้เรา ให้เรามาครอปภาพ ตามขนาดที่ต้องการ ผมชอบตั้งความละเอียดที่ 300 dpi

Panorama


ขนาด (inch) ราคา อัดภาพจากไฟล์
6x15 25
6x18 30
10x25 45
10x30 50
12x30 75
12x36 80

*ราคาที่กรุงเทพ

เมื่อครอปภาพเสร็จก็ save เป็นไฟล์ jpeg เพื่อนำไปอัดภาพ หรือนำมาตกแต่งสีภาพให้โดนใจก่อน เท่านี้ชีวิตการถ่ายภาพก็ง่ายขึ้น ๆ ตัวเดียวเที่ยวทั่วโลก

วิธีการใส่ลายเซ็นให้กับภาพ

สวัสดีครับ จาก กระทู้นี้ วันนี้พุกเลยมานำเสนอวิธีการใส่ลายเซ็นแบบง่ายๆ ด้วยโปรแกรม photoshop กันค่ะ
โดยเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาพถ่ายของเราให้สวยงาม และสมบูรณ์ขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้แสดงความเป็นเจ้าของภาพถ่ายฝีมือเราเองค่ะ

หมายเหตุ : บางคำสั่งพุกจะเขียนเป็น key ลัดสำหรับใช้งานนะคะ เพื่อความสะดวกและสรุปสั้นๆในแต่ละขั้นตอน
emo02.gif

วิธีการใส่ลายเซ็นให้กับภาพ

1. เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาก่อนนะคะ แล้วกด ctrl+O เพื่อเปิดไฟล์ภาพที่เราจะใช้งานขึ้นมา
จากนั้นไปที่ Image เลือก Image size เพื่อปรับย่อขนาดไฟล์ภาพให้ได้ตามต้องการก่อน



2. เราจะเริ่มใส่ลายเซ็นกันง่ายๆด้วยการกดปุ่มคำสั่งทางด้านซ้ายมือของแถบคำสั่ง เป็นรูปคล้ายๆตัว T
หมายถึง คำสั่งสำหรับใช้ในการพิมพ์ตัวอักษรลงรูปภาพ



3. กดปุ่มคำสั่ง แล้วไปกดที่รูปภาพตำแหน่งใดก็ได้ตามต้องการ จากนั้นพิมพ์ข้อความลงไปเลยค่ะ
แล้วจัดวางให้ได้ตำแหน่งที่สวยงาม

พยายามอย่าวางให้ดูอึดอันจนเกินไป ...แต่ถ้าต้องการป้องกันคนนำไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต ก็อาจวางพาดรูปไปเลยก็ได้ค่ะ



4. เราสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยน Font ของตัวอักษรได้จากแถบตัวเลือก Font ทางด้านบน
ดาวน์โหลด font สวยๆได้ที่
http://www.f0nt.com
http://www.dafonlt.com
หรือจะเข้า google แล้วลอง search หา Font ดูก็ได้ค่ะ

5. ปรับแก้การจัดวาง Font โดยกดที่แถบเมนูด้านบน ตามรูปภาพ



โดยรายละเอียดการปรับแต่งมีดังนี้



เพียงแค่นี้เราก็สามารถใส่ลายเซ็นลงรูปภาพได้แล้วค่ะ

แนะนำเทคนิคเพิ่มเติมนิดหน่อย

ถ้าหากเราไม่ต้องการใส่ข้อความหรือลายเ็ซ็นลงในภาพโดยตรง อาจทำแบบนี้แทนก็ได้ค่ะ

1. ดูขนาดไฟล์ภาพที่เราจะแก้ไข ... จากภาพจะอยู่ที่ 500 x 335



2. กด Ctrl + N เพื่อเิปิดหน้ากระดาษใหม่ขึ้นมา โดยเปลี่ยนขนาดให้เป็น 500 x 380 (เพื่อให้มีพื้นที่แนวตั้งเพิ่มอีกหน่อย)



3. ลากไฟล์รูปภาพต้นฉบับมา แปะที่กระดาษขาวอันใหม่ จากนั้น เปลี่ยนพื้นหลังให้เป็นสีตามต้องการ
แล้วใส่ลายเซ็นที่บริเวณแถบดำแทน... ทำให้ลายเซ็นไม่ไปทับรูปภาพ ^^



4. ปรับแต่ง Font ด้วยการใส่ Effect ให้กับ Font ตามภาพ



เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ



ถ้าต้องการเพิ่ม Layer ใหม่ขึ้นมาให้กด Ctrl + shift + N เพื่อเปิด New Layer แบบลัดค่ะ
ส่วนใหญ่แล้วเราจะเพิ่ม Layer ใหม่ขึ้นมา เพื่อใช้ Brush วาดภาพเป็นลายให้กับรูป

ตัวอย่างในภาพ
- กดเพิ่ม new layer แล้ววาดแครอทลงไปค่ะ ใส่เอฟเฟค drop shadow ให้กับ Layer carrot เพื่อทำเงา
- กดเพิ่ม new layer แล้ววาดรอยที่แก้ม ใส่เอฟเฟค stroke เลือกสีชมพูทำขอบ
- กดเพิ่ม new layer แล้ววาดหูกระต่าย ใส่เอฟเฟค outer เปลี่ยนสีขอบฟุ้งๆเป็นสีขาว
- พิมพ์ลายเซ็น livalrate แล้วเลือกเอฟเฟคอินเนอร์ทำให้มีมิติ และเอฟเฟค gradient ไล่สี

การใช้งาน Action Photoshop

ทู้นี้ก็มาว่ากันเเรื่องของ อาหารอร่อย เอ้ย เรื่อง Action ใน Photoshop ตามความเข้าใจของข้าพเจ้านะจ๊ะ
ว่าแล้วก็เริ่ม กิน เอ้ย เริ่มเข้าเรื่องกันเลยดีก่าเนาะเสร็จแล้วจะได้ไปหาของอร่อยกันฉลอง อาการนี้แถวบ้านเรียกว่า หาเรื่องกิน อิอิ

ตอนนี้เลิกปล่อยไก่หละจ้า หันมาปล่อยเป็ดปล่อยห่านแทน ตัวใหญ่ดี จะได้เห็นกันแบบจะๆ อิอิ

หลายคนอาจจะสงสัย Action คืออะไร มีประโยชน์ยังไง แล้วทำไม่ต้องมี Action
อ้าว..ไม่มีคนสงสัยเลยเหรอ แป่ว!!!!! แต่อยากบอก ทนๆฟังหน่อยหละกันเนาะ

Action คือการรวบรวมขั้นตอนการทำงานใน Photoshop และบันทึกเก็บไว้
โดยไม่ต้องมานั่งทำขั้นตอนเดิมอีก.....เมื่อต้องการใช้รูปแบบเดิมกับไฟล์อื่นๆ

ถ้าทำเป็นบันทึก Action ไว้เราสามารถเรียกขั้นตอนต่างๆ ขึ้นมาแล้ว กดปุ่มเพียงปุ่มเดียวก็จะได้งานเหมือนที่เราทำไว้ครั้งแรก

ตัวอย่างที่มองเห็นกันง่ายๆ ก็คือการทำกรอบรูปแบบ Polaloy ถ้ามีภาพ 2 ภาพที่ต้องทำก็พอทน
แต่ถ้ามีสัก 20 ภาพ อารมณ์ขี้เกียจก็จะบังเกิดในบันดล หรือใครไม่ขี้เกียจก็เอาไปทำให้ทีมีเยอะ5555

ถ้าคุณมี Action ก็จะไม่ใช่เรื่องหน้าเบื่ออีกต่อไป และถ้าคุณโทรมาภายใน 5 นาทีนี้คุณจะได้แอดโดมิไนเซอร์ แถมฟรี อิอิ

สำหรับการใช้งานคำสั่ง Action ใน Photoshop เท่าที่มีข้อมูลจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1. การ Load Action จากที่อื่นมาใช้งาน
2. การสร้าง Action ไว้ใช้งานเอง

งั้นเมาพูดถึง Action ที่ Load มาจากที่อื่น เพื่อใช้งานก่อนก็หละกันเนาะ เห็นว่ามีท่านที่กำลังสงสัยอยู่

หลังจาก ดาวน์น้อย เอ้ย ดาวน์โหลด Action มาเรียบร้อยแล้ว
ก็จัดการนำ Aciton ไปติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งที่ Photoshop จะสามารถเรียกใช้งานได้

ถ้าหาก Action ถูกโปรแกรมบีบอัดมา
ต้องคลายออกก่อนนำไปวางที่ Photoshop Action ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้นะคะ

มาเริ่มลงมือจัดการนำ Action ไปไว้ในตำแหน่งที่สามารถเรียกใช้งานได้

ไปที่ Drive C หรือ Drive ที่ลงโปรแกรม Photoshop ไว้ => Programe Files => Adobe => Adobe Photoshop CS2 => Presets => Photoshop Actions => ดับเบิ้ลคลิก ก็จะเห็นว่ามี Action ที่มากับโปรแกรมอยู่บ้างแล้ว





ยังคงดับเบิ้ลคลิกกันต่อไป







และดับเบิ้ลคลิกกันต่อ อิอิ
และในที่สุดเราก็ได้พบกับแหล่งรวม Action แล้ว โย้ว โย้ว!!!

ต่อจากนั้นจัดการนำ Actions ที่โหลดมาวางเพิ่มเข้าไปได้เลย เป็นอันสิ้นสุดการติดตั้งค่ะ

ปิดทุกอย่างที่เปิดไว้ ยกเว้น โปรแกรม Photoshop ยัง ยังไม่ทำอีก เดี๋ยๆ เดี๋ย โมโหหิวซะเลยนิ อิอิ





มาๆ มาดูต่อค่ะ จากนั้นดูว่าที่ Photoshop เปิด Palette Action ขึ้นมาสำหรับใช้งานหรือยัง

ถ้ายังก็ไปที่ Menu Bar => คลิกที่ Window และคลิก 1 ครั้งที่ Action
จะปรากฏเครื่องถูกด้านหน้า Actions
หรือจะใช้ shotcut ก็กด Alt+F9 ก็ได้แล้วแต่จะถนัดค่ะ



ไปที่ Palette Action

เริ่มลงมือ Load Action ที่ต้องการใช้งานขึ้นค่ะ





พรึบเลย Action ของอิช้าน ไม่ต้องตกกะใจคะ
ตัวอย่างอันนี้เป็น Action พื้นๆที่มีอยู่ใน Photoshop แบบว่าไม่ได้ลง Action ใหม่ไๆว้ แฮะๆ

การ Load Action มาใช้ก็ขึ้นอยู่กับว่ามี Action อะไรให้เลือกใช้ อยากได้อันนี้ก็ Load มาเลยค่ะ



เมื่อ load Action มาเตรียมไว้แล้ว ก็มาลงมือ ลอง Action ที่ load มากันเหอะ

1. เปิดภาพที่จะสร้างกรอบขึ้นมาค่ะ
2. เลือก Action ที่ต้องการ
3. กดปุ่ม Play เป็นอันเสร็จพิธีทำกรอบรูป

ได้ภาพที่มีกรอบเรียบร้อย ^^

เป็นอันเรียบขั้นตอนการสร้างกรอบรูปจาก Action ที่ Load มาค่ะ







สำหรับการใช้ Action จะมีข้อสังเกตนิดนึงนะคะ

Action บาง Action อาจจะมีการกำหนดค่าบางอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานค่ะ

Action บาง Action ถ้ามีวงเล็บว่า (selection) จะต้องทำการ seletion (สร้างขอบเขต)ขึ้นมาก่อนที่จะใช้ คำสั่ง Action นั้นค่ะ ไม่งั้นเมื่อเรียกใช้งาน คำสั่ง Action นั้นก็จะไม่แสดงผลค่ะ

ไม่เชื่อลองดูค่ะ ..........ต้องมีคนไม่เชื่อมั้งหละงานนี้ อิอิ







คราวนี้มาถึงการสร้าง Action ไว้ใช้งานเองกันบ้าง บางท่านอาจอยากจะทำ Action ไว้ใช้งานเองบ้าง ลองทำดูค่ะ

สร้าง Set สำหรับเก็บ Action ขึ้นมานะคะ สามารถตั้งชื่อตามแต่ใจต้องการค่ะ



สร้าง Action โดยการตั้งชื่อก่อน จะตั้งให้เหมือนหรือไม่เหมือน Set ก็ได้ค่ะ เผื่อบันทึกขึ้นตอนการทำงาน

Name คือการตั้งชื่อของ Action
Set เลือกที่เก็บ Action
Funtion Key สามารถเลือกใช้เป็น คีย์ลัดในการใช้งานแทนปุ่ม Play
Color คือสีที่ปรากฏ ณ Action นั้นๆ ถ้าเรากำหนด





สร้างที่เก็บ Action เสร็จแล้วก็มาเริ่มลงมือบันทึก Action กันค่ะ

เปิดภาพขึ้นมาค่ะ

กดปุ่ม Begin recording ที่ Palette Action
นับจากนี้ไปโปรแกรมจะเริ่มเก็บคำสั่งต่างๆในการทำงานค่ะ



Image => Canvas size....



สังเกตนะคะเมื่อเราใช้คำสั่ง จะมีการบันทึกที่ Palette Action

เมื่อสิ้นสุดการทำงานให้กดปุ่ม stop เป็นอันจบขั้นการบันทึก Action

สามารถดูขึ้นตอนการสร้างแบบละเอียดได้จากลิงค์นะคะ
สร้างกรอบรูปแบบโพลาลอยด์



ทำการ Save Actions.... เก็บไว้ใช้งานครั้งต่อไปค่ะ

คลิก Set 1 => Save Action...





ลบ Action ที่อยู่ใน Paletter Action ออกให้หมด

คลิกที่ Set 1 แล้วลากเมาท์มาทิ่รูปถังขยะ




ทดลองเรียก Action ที่ Save เก็บไว้มาใช้งาน








เรียกใช้ Action
เปิดภาพที่ต้องการสร้างกรอบ
กดปุ่ม Play
ได้ภาพที่มีกรอบที่มาจาก Action ฝีมือเราเอง

เป็นอันจบเรื่อง Action แล้วจ้า ^^
ถือว่าเป็นการนำประสบการณ์ในเรื่องที่พอจะรู้มาเล่าสู่กันฟังนะคะ ^____^